messager
อ่างเก็บน้ำยางชุม
รายละเอียด : ย้อนหลังไปประมาณ 50 ปี พื้นที่ในตำบลหาดขาม อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ยังคงเป็นพื้นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์อีกทั้งยังเป็นพื้นที่สีชมพูที่มีการตรวจพบกลุ่มผู้การร้าย แต่สิ่งที่เลวร้ายยิ่งกว่าคือปัญหาความแห้งแล้งขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง และมักจะเผชิญกับน้ำท่วมในช่วงฤดูน้ำหลาก ทำให้ประชาชนต้องเดือดร้อนอย่างหนัก จวบจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2492 กรมชลประทานได้พิจารณาก่อสร้างฝายทดน้ำกุยบุรีขึ้นที่อำเภอกุยบุรี ปิดกั้นแม่น้ำกุยบุรีเพื่อทดน้ำส่งให้พื้นที่เพาะปลูกชายฝั่งซ้ายของแม่น้ำกุยบุรี ซึ่งมีจำนวน 15,300 ไร่ แต่ด้วยแม่น้ำกุยบุรีจะมีน้ำไหลเฉพาะช่วงที่มีฝนตก ส่วนในฤดูแล้งนั้นไม่สามารถส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกได้ ดังนั้นในปี พ.ศ.2516 กรมชลประทานจึงได้พิจารณาก่อสร้างอ่างเก็บน้ำยางชุมขึ้น เพื่อแก้ปัญหาอุทกภัย ปัญหาภัยแล้ง เป็นแหล่งน้ำต้นทุน ช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูก ตลอดจนผลักดันน้ำเค็มในคลองกุย โดยดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2523 แม้อ่างเก็บน้ำยางชุมจะก่อสร้างเสร็จแล้ว แต่ปัญหาอุทกภัย และภัยแล้งก็ยังไม่หมดไป เนื่องจากอ่างเก็บน้ำที่ก่อสร้างขึ้นนั้นสามารถรับน้ำได้เพียง 32 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น 10 มิถุนายน 2546 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชทานพระราชทานดำริว่าควรหาทางขยายปริมาณกักเก็บน้ำของอ่างเก็บน้ำยางชุม โดยมีพระราชดำรัสขอให้ทหารและจังหวัดร่วมมือกับชลประทานพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหาตามแนวพระราชดำริ “ก็ต้องสร้างเขื่อนให้เก็บน้ำ ดีขึ้นอย่างมากที่สุดก็ขึ้น 2 เมตร ก็นับว่าดีจะได้น้ำเพิ่มเติม 9 ล้านลูกบาศก์เมตร ก็นับว่าไม่เลว มันไม่มาก สู้ที่อื่นไม่ได้ ไม่มากดีกว่าไม่มี ความจริงควรจะมีอย่างนี้ทั่วตลอด ให้สามารถที่จะเก็บน้ำแล้วป้องกันไม่ให้น้ำท่วมตอนหน้าฝนหรือมีพายุเข้ามา ไม่ให้น้ำแล้งให้มีน้ำให้สำหรับการกสิกรรมหรือการบริโภค” ทุกๆวันเกษตรกรในหมู่บ้านหาดขาม ตำบลยางชุม จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ต่างก็จับจอบ แบกเสียมออกไปทำสวนทำไร่กันอย่างหน้าชื่นตาบาน ไม่ต้องกังวลอีกต่อไปว่าจะไม่มีน้ำ ทั้งนี้ด้วยเพราะพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯที่ทรงเป็นห่วงพสกนิกรชาวไทย ชาวกุยบุรีจะยังคงซาบซึ้งในพระปรีชาสามารถ และพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ พระผู้เป็นพ่อที่รักลูกไปอีกตราบนานแสนนาน
ผู้โพส : admin

× องค์การบริหารส่วนตำบลหาดขาม